ปัญหาที่เจ้าของธุรกิจ หลากหลายแบรนด์ พูดเป็นสีเดียวกันว่าการตั้งชื่อแบรนด์อาหารเสริม เอาชื่อง่ายๆ จำง่ายๆ ตั้งแบบไหนก็ได้แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เลย การตั้งชื่อแบรนด์ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต้องคำนึงถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ และกลุ่มเป้าหมายของสินค้าด้วย โดยเฉพาะในยุคนี้ที่มีสินค้าวางจำหน่ายอยู่กันมากมาย หลากหลายแบรนด์ เสี่ยงต่อการตั้งชื่อซ้ำกัน อีกทั้งหลายๆ แบรนด์ยังพยายามตั้งชื่อเพื่อสื่อประโยชน์และกลุ่มเป้าหมายของตนเอง เพื่อสร้างการดึงดูดใจจากผู้บริโภค ซึ่งบางครั้งกลายเป็นการกล่าวอ้างเกินจริง ส่งผลเสียต่อทั้งผู้บริโภคและเจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์
ดังนั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงหันมาเข้มงวดกับเรื่องนี้มากขึ้น เพื่อควบคุมในผลิตภัณฑ์อาหารเสริม รวมถึงเครื่องสำอาง มีคุณภาพและความปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้เจ้าของธุรกิจที่กำลังจะเริ่มสร้างแบรนด์ ต้องเรียนรู้ข้อกำหนดและเทรนิคการตั้งชื่อ ให้ผ่าน อย. แบบต้องไม่เสียเวลา !!
TNK BEAUTY ได้เอาเทคนิคดีๆ และวิธีการ รวมถึงข้อกำหนดจาก อย. ต่างๆ มาให้เจ้าของธุรกิจได้ดูเป็นวิธีการในการตั้งชื่อแบรนด์ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เพื่อเป็นแนวทางช่วยห็ปบรนด์เป็นที่จดจำและได้ชื่อที่ตรงใจเจ้าของแบรนด์
ข้อกำหนดของ อย. ในการตั้งชื่อแบรนด
1. ไม่สื่อถึงสรรพคุณของผลิตภัณฑ์
ชื่อแบรนด์จะต้องไม่สื่อถึงสรรพคุณ หรือ ผลลัพธ์ที่ได้จากการับประทาน เช่น Slim, White, Bright, High, Good, Block, Burn เป็นต้น รวมถึงคำในภาษาอื่นๆ ที่เมื่อแปลแล้วได้ความหมายที่ยังคงสื่อถึงสรรพคุณ เช่น Bianco ภาษาไทยไม่มีความหาย แต่ในภาษาอิตาลี แปลว่า White เนื่องจากอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าสารมาถรักษาหรือคาดหวังผลลัพธ์จากการรับประทานได้
2. ไม่สื่อถึงกลุ่มผู้บริโภค
จะต้องไม่มีคำที่สื่อถึงกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าเป็น ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับช่วงอายุของตนเอง ทำให้เกิดการคาดหวังในสรรพคุณที่จะได้รับหลังรับประทาน เช่น Man, Woman, Old, Child เป็นต้น
3. ไม่พ้องเสียง พ้องรูป หรือเล่นคำ
คำที่ใช้ต้องไม่พ้องเสียงหรือพ้องรูปหรือเล่นคำที่มีความหมายสื่อถึงสรรพคุณประโยชน์หรือกลุ่มผู้บริโภค หรืออวดอ้างเกินจริง เช่น
-Slin พ้องเสียงกับคำว่า Slim และยังมีความหมายสื่อถึงความผอม
-Inflamatory ที่พ้องเสียงกับคำว่า Inflammatory ที่สื่อถึงการอักเสบ
-Snow แปลตรงตัวว่าหิมะ แต่ อย. อาจตีความว่าสื่อถึงความขาว
เทคนิคตั้งชื่อแบรนด์อาหารเสริม
1. ใช้ชื่อไม่เกิน 3 พยางค์ ออกเสียงง่าย และไม่ซ้ำกับแบรนด์อื่นๆ
สังเกตได้จากทั้งแบรนด์เล็ก และแบรนด์ใหญ่มักใช้ชื่อไม่เกิน 3 พยางค์ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ และควรจะออกเสียงได้ง่าย เพื่อทำให้พูดได้ติดปากนั่นเอง อีกทั้งไม่ควรใช้ชื่อที่ซ้ำหรือคล้ายกับแบรนด์อื่นมากเกินไป เพราะอาจทำให้ผู้บริโภคสับสน และอาจถูกมองว่าลอกเลียนแบบได้
2.ใช้ชื่อบุคคล หรือ บริษัท
สามารถนำเอาชื่อคน หรือชื่อบริษัทมาใช้ในการตั้งชื่อแบรนด์ได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่สื่อถึงสรรพคุณ หรือ กลุ่มผู้บริโภค หรือมีความหมายที่ขัดกับวัฒนธรรมและศีลธรรมอันดีของไทย
3.ใช้ชื่อที่ไม่มีความหมายเมื่อเปิด Dictionary
หากชื่อที่ อย. ไม่อนุญาตคือ ชื่อที่มีความหมายที่บางครั้งอาจกลายเป็นการอวดอ้างสรรพคุณ การใช้ชื่อที่ไม่มีความหมาย ด้วยการประกอบคำใหม่ขึ้นมา มีแนวโน้มมากกว่าจะเป็นชื่อที่ อย. อนุมัติให้ผ่านฉลุย !!!!
ทาง TNK BEAUTY รับผลิตอาหารเสริมทุกรูปแบบ ขั้นต่ำน้อย ราคาถูก ขายง่าย ขายไว เอาใจแม่ค้า แม่ขายออนไลน์ยุคใหม่ ให้บริการแบบครบวงจร บริการยื่นขอใบอนุญาต (อย.) ให้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ช่วยให้คำแนะนำ ในการตั้งชื่อแบรนด์อาหารเสริมของคุณ ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทีมงาน R&D และทีมวิจัยพัฒนาสูตรสินค้าให้ตรงใจคุณ พร้อมยังช่วยสร้างสรรค์อาหารเสริมของคุณด้วยวัตถุดิบคุณภาพนำเข้าจากทั่วทุกมุมโลก ภายใต้การผลิตที่ปลอดภัยและได้สมาตรฐานระดับสากล
#โรงงานผลิตครีม #ขอเลขจดแจ้ง #รับบรรจุ #เรามีบริการครบวงจร #ของถึงมือลูกค้าพร้อมขายได้ทันที #โรงงาน #มีสถานที่ผลิตชัดเจน #ไม่มีสารต้องห้ามในการผลิต #ผลิตเองไม่ผ่านคนกลาง #แนะนำช่องทางการจัดจำหน่าย #แนะนำการส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศ #ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้โดดเด่น #ธุรกิจออนไลน์ #ครบจบที่เดียว #ครบวงจร #ONESTOPSOLUTION #รับสร้างแบรนด์ #Tnkbeauty #รับผลิตสินค้าอาหารเสริม #รับสร้างแบรนด์มูสกำจัดขน #รับสร้างแบรนด์สินค้าชงดื่ม #รับสร้างแบรนด์เครื่องสำอาง #โรงงานผลิตอาหารเสริม #โรงงานผลิตเครื่องสำอาง